วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

มด

มหัศจรรย์สัตว์โลก
            ในปัจจจุบันเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลายสิ่งหลายอย่างหลาย  หลากหลายพันธุ์  
ซึ่งวันนี้จะมายกตัวอย่างของสัตว์ที่น่าทึ่งและน่าสนใจมาให้ได้ดูกัน  3  ชนิดดังต่อไปนี้

มด




          มดเป็นแมลงชนิดหนึ่งในตระกูล Formicidae เราพบเห็นมดในทุกหนแห่ง นอกจากใน ทวีปแอนตาร์กติกาที่มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี มดเป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถหลายด้าน และมีพฤติกรรมที่น่าสนใจมาก ถึงระดับที่ทำให้มันเป็นสัตว์ที่คนสนใจศึกษามากที่สุด
ถึงแม้มดจะมีน้ำหนักตัวเบาเมื่อเทียบกับคนก็ตาม แต่ถ้าเราชั่งน้ำหนักของมดทั้งโลก เราก็จะพบว่ามันมีน้ำหนักพอๆ กับคนทั้งโลกทีเดียว
นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่ามดมีวิวัฒนาการจากแมลงดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตเป็นกา ฝากตามตัวแมลงชนิดอื่น และถือกำเนิดเกิดมาบนโลกเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว
แต่ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมานี้ D. Agosti แห่ง American Museum of Natural History ที่ New York ในสหรัฐอเมริการและคณะได้รายงานว่าเขาได้ พบซากฟอสซิล ของมดที่มีอายุถึง 92 ล้านปี ซึ่งนับว่าดึกดำบรรพ์กว่าที่คิดเดิมถึง 2 เท่าตัว ในยางสนของต้นไม้ต้นหนึ่งในรัฐ New Jersey สหรัฐอเมริกา ซากมดที่เขาพบนี้เป็นซากของ มดงานตัวเมีย 3 ตัว และตัวผู้ 4 ตัว มดกลุ่มนี้มีอวัยวะและต่อมาของร่างกายที่ชัดเจนว่าเป็น มด เช่น มีต่อม metapleural ที่ทำหน้าที่ขับสารปฏิชีวนะออกมาเพื่อปกป้องมดมิให้เป็น อันตรายจากการถูกจุลินทรีย์คุกคาม จึงทำให้มันสามารถดำรงชีพอยู่ใต้ดินหรือตามต้นไม้ที่ เน่าเปื่อยได้สบายๆ และยังใช้สารเคมีที่ขับออกมาจากต่อมนี้ในการติดต่อสื่อสารถึงกัน อันมี ผลทำให้มันเป็นสัตว์สังคมที่ดีที่สามารถ ในที่สุด Agosti และคณะจึงคาดคะเนว่า มดคงถือ กำเนิดเกิดมาบนโลกเมื่อ 130 ล้านปีก่อน ซึ่งยุคนั้นเป็นยุคที่นักธรณีวิทยาเรียกว่ายุค Cretaceores และเป็นยุคที่ไดโนเสาร์ยังครองโลกอยู่ แต่มดก็มิได้มีบทบาทสำคัญทันทีทันใด มดเริ่มมีความหลากหลายทางชีวภาพในยุคต่อมาคือยุค Tertiary คือ เมื่อไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ไปจนหมดสิ้นแล้ว ปัจจุบันมดมีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลกมาก โดยเฉพาะในบริเวณ เขตร้อนของโลกป่าดงดิบ ในเขตนี้จะขาดมดไม่ได้เลย
นักชีววิทยาได้ศึกษาธรรมชาติของมดมานานกว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว และได้พบว่ายิ่ง ศึกษามดมากขึ้นเพียงใด เขาก็ยิ่งทึ่งในความสามารถของมันมากขึ้นเพียงนั้น เมื่อ 5 ปีก่อน นี้ B.Holldobler และ E.O. Wilson ได้เขียนวรรณกรรม The Ants บรรยายธรรมชาติของมด ตั้งแต่วิวัฒนาการตลอดจนพฤติกรรมทุกรูปแบบของมดจนทำให้หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัล pulitzer ของอเมิรกา และใครที่อ่านหนังสือเล่มนี้มักจะคิดว่ามนุษย์รู้จักมดดีแล้วแต่ความ จริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเรากำลังได้รับความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับมดอยู่ตลอดเวลา เช่น C.Errand แห่งมหาวิทยาลัย Paris ได้เคยรายงานไว้ในวารสาร Animal Behavior เมื่อ 2 ปี ก่อนนี้ว่า มดที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกันจะมีความสนิทสนมกันและคุ้นเคยกันโดยอาศัย กลิ่นจากสารเคมี pheromone ที่มดขับออกมาจากร่างกาย เพราะหลังจากที่ได้ทดลองเลี้ยง มดให้อยู่ด้วยกันนาน 3 เดือน แล้วจับแยกกันนาน 18 เดือน มันก็ยังจำเพื่อนของมันได้
ส่วนมด Formica selysi นั้น Errand ก็ได้พบว่าตามธรรมดาเป็นมดกาฝากที่ชอบเกาะมด อื่นๆ กิน ราชินีของมดพันธุ์นี้มักจะใช้ความสามารถในการปลอมกลิ่นบุกรุกเข้ารังมดพันธุ์อื่น แล้วฆ่าราชินีมดเจ้าของรัง จากนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชินีมดเจ้าของรัง จากนั้นก็ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชินีแทน แล้วบังคับมดงานทั้งหลายให้ทำงานสนองความต้องการ ของตนเองทุกรูปแบบ
เมื่อไม่นานมานี้นักชีววิทยากลุ่มหนึ่งได้ศึกษามด Polygerus ที่ทำรังอยู่ตามลุ่มน้ำ อะเมซอนในบราซิล และได้พบว่ามดพันธุ์นี้มีความเชี่ยวชาญในการล่าทาสมาก คือเวลามัน ทำสงครามมดชนะมันจะบุกเข้ายึดรังมดที่แพ้สงครามแล้วจับมดทาสที่ประจำอยู่ในรังนั้นมา เป็นทาสรับใช้มัน จากนั้นมันจะขนไข่มดที่แพ้สงครามกลับไปพักที่รังมันทันทีที่ไข่สุกลูกมด ใหม่จะมีจิตใจเป็นทาสยินยอมรับใช้มด Polygerus โดยไม่ต้องสั่ง มดทาสนั้นตามปกติมีฐานะ ทางสังคมต่ำสุด มันจึงไม่มีสิทธิ์สืบพันธุ์ใดๆ ดังนั้นเวลามดทาสตาย มดนายก็ต้องออก สงครามเพื่อล่ามดทาสมารับใช้มันอีก เพราะถ้าไม่ออกศึกหาทาสมันก็จะอดอาหารตายเมื่อ มีมดทาสแล้ว วันๆ มันจะนั่งอ้อนขออาหารจากมดทาสตลอดเวลา
ส่วนมด Aolenopsis invicta ซึ่งเป็นมดคันไฟที่มีชีวิตอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และขณะนี้กำลัง คุกคามผู้คนและที่อยู่อาศัยในทวีปอเมริกาเหนืออยู่ R. Hickling แห่งมหาวิทยาลัย Mississippi ในสหรัฐอเมริกา ได้พบว่ามันสามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงและกลิ่นได้ โดยเขาได้ถ่ายภาพมดชนิดนี้และบันทึกเสียงของมดและเขาได้พบว่าเวลามดตกใจมันจะส่ง เสียงดังหรือเวลาศัตรูปรากฏตัวให้เห็นอย่างทันทีทันใดมันก็จะส่งเสียงอื้ออึงเหมือนกัน
เพราะเหตุว่าเสียงเดินทางได้เร็วกว่าโมเลกุล Pheromone ของกลิ่น ดังนั้นมดจะใช้เสียง เฉพาะในกรณีสำคัญๆ เท่านั้น




ส่วนมด Pheidole palidula เวลาถูกศัตรูข่มขู่จะโจมตี มันจะสร้างไข่อ่อนที่จะให้กำเนิด มดทหารมากกว่าปกติเพื่อมาปกป้องรังของมัน ให้รอดพ้นจากการถูกโจมตีและเมื่อใดที่มด วรรณะหนึ่งๆ ถูกศัตรูฆ่าตายหมดทุกตัวแล้วมดวรรณะอื่นก็จะเข้ามาทำหน้าที่แทนและนั่นก็ หมายความว่ามดชนิดนี้เปลี่ยนวรรณะทางสังคมของมันได้เมื่อมีความจำเป็น
การที่มดมีการแบ่งชั้นวรรณะเช่นนี้ ได้ทำให้นักชีววิทยาบางคนคิดว่า มดเป็นสัตว์ที่มี สติปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่งกว่าลิง การมีสติปัญญาที่สูงในสมองที่เล็กนี้ได้ทำให้มันมีวัฒนธรรม หนึ่งที่ประเสริฐยิ่งกว่าคน คือความรู้สึกสามัคคีทุกหมู่เหล่าของมดเพราะสังคมมดเป็นสังคม สหชีวิตที่ชีวิตทุกชีวิตมีความหมายต่อทุกชีวิตอื่น อย่างที่เรียกกันว่า altruism ที่สังคมคนไม่มี ครับ
นอกจากนี้มดยังจำทิศทางได้เป็นอย่างดี นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ศึกษาถึงวิธีการที่มดจำทิศทางกลับไปยังแหล่งอาหาร โดย วางกรวยสีดำสูงประมาณ 10 เซนติเมตรบนโต๊ะ และวางน้ำตาลไว้ใกล้ๆ มดแต่ละตัวจะถูก ปล่อยให้ออกจากรังเพื่อไปยังน้ำตาลตัวละเที่ยว เขาพบว่าขณะกลับรังหลังจากพบน้ำตาลแล้ว มดจะหันหลังไปดูกรวยสีดำ และน้ำตาลบ่อยๆ เมื่อกลับมาที่น้ำตาลอีกครั้งมดจะเดินมาใน แนวทางเดิม
เนื่องจากมดมีสมองที่เล็กมาก (น้อยกว่า 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร) การมองเห็นไม่ดี ระบบ การมองเห็นเป็นแบบง่ายๆ ตาของมดไม่สามารถหมุนรอบได้ ดังนั้นภาพที่ตกบนจอรับภาพ (เรตินา) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวมดเมื่อหยุดมองสิ่งที่สังเกตมดจะจำวัตถุนั้นๆ ได้อย่างที่ตา เคยมองเห็น ถ้าเห็นวัตถุนั้นอีกแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมอื่น มดจะจำวัตถุนั้นไม่ได้ เมื่อให้มด ไปยังน้ำตาลและกลับรังหลายๆ ครั้ง มดจะหาสิ่งที่เป็นสังเกตมากขึ้น มดที่รู้แหล่งอาหารแล้ว เมื่อจะกลับไปที่แหล่งอาหารอีกก็จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่าฟีโรโมนไปตามทางที่เกิน เพื่อให้ มดที่เหลือนั้นตามไปได้ถูกทาง มดที่เดินตามโดยอาศัยฟีโรโมนก็หาสิ่งที่เป็นสังเกตสำหรับ ตนเองเช่นกัน ทำให้ในการไปแหล่งอาหารครั้งต่อไปทำได้เร็วขึ้น



ทำไมมดถึงเดินเป็นแถว? 

       


      เรื่องราวของ “ ฟีโรโมน   กับแมลงที่สังเกตได้อย่างชัดเจนก็คือ มันจะมีบทบาทอย่างมากต่อแมลงที่มีการใช้ชีวิตอยู่เป็นกลุ่ม หรือแมลงสังคมที่มีประชากรในรังมากมายนับพันนับหมื่นตัว ในขณะที่แมลงแต่ละตัวก็มีหน้าที่แตกต่างกันไป ทั้งเลี้ยงดูตัวอ่อน ขยายพันธุ์ หาอาหาร หนึ่งในตัวอย่างของแมลงสังคมที่เราจะทำความรู้จักกันในวันนี้คือ แมลงตัวน้อยที่แข็งแรงอย่าบอกใคร บอกใบ้ให้สักนิดว่า ตัวของมันเล็กนิดเดียว แต่สามารถยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวของมันได้ถึง 10 เท่า 

            คำตอบของเรื่องราวในวันนี้ก็คือ มดตัวน้อยตัวนิดนั่นเอง แต่จะเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อมดตัวแค่นี้ปล่อยฟีโรโมน สารเคมีที่มีอยู่ในร่างกาย เราลองมาหาคำตอบกันดีกว่า

        
มดในโลกใบนี้มีจำนวนมากมายถึง 1 หมื่นชนิด สำหรับประเทศไทยเองก็คาดว่าจะมีอยู่นับพันชนิด แม้ว่าเราอาจรู้จักมดอยู่เพียงไม่กี่ชนิด มดแดง มดคันไฟ มดตะนอย มดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ดุไม่ใช่ย่อย กัดเจ็บอีกต่างหาก แล้วรู้หรือไม่ละว่าในรังของมดมีประชากรอยู่มากมายมหาศาล นอกจากนั้น มดยังเป็นแมลงสังคมที่อยู่ร่วมกันโดยมีการแบ่งหน้าที่ แบ่งวรรณะในการทำงาน ทั้งมดงาน มดนางพญา และมดตัวผู้ แต่สำหรับเรื่องราวในวันนี้พระเอกของเรื่องต้องยกให้กับมดประเภทเดียวนั่นก็คือ มดงาน

        
หลายคนอาจบอกว่าไม่ได้มีความรู้สึกว่าจะชื่นชอบเจ้าแมลงตัวนี้สักเท่าไร นอกจากจะสร้างความน่ารำคาญแล้ว บางชนิดยังกัดเจ็บ สร้างความแสบคันอีกต่างหาก แต่หากเราลองศึกษาพฤติกรรมของมดงานกันแล้วละก็ น่าตื่นเต้น และไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย!

        เมื่อเราทำขนมตกบนพื้นในห้องครัว เพียงไม่กี่นาทีต่อมาขบวนมดแถวยาวเหยียดก็เดินทางมาถึง และพร้อมแล้วที่จะแบกขนมให้หายไปในพริบตา แต่รู้ไหมละว่าขั้นตอนก่อนที่มดน้อยจะมาถึงนั้น มีขั้นตอนมากมายในการติดต่อสื่อสารกัน เมื่อมดงานเพียง 23 ตัวเดินทางมาพบเศษขนม มดงานจะทำอย่างไรเพื่อบอกกับเพื่อนมดให้เดินทางมายังอาหารแหล่งนี้ สิ่งแรกที่มดงานตัวที่พบอาหารจะทำก็คือ ปล่อยสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาจาก  ต่อมดูฟอร์ (Dufoue’s Gland)   ซึ่งเป็นสารที่มดงานทุกตัวมีอยู่ในร่างกาย สารเคมีที่ถูกปล่อยออกมานี้ก็คือ ฟีโรโมนประเภทกรดฟอร์มิก   (หรือที่หลายคนคุ้นเคยกับคำว่า กรดมด) ซึ่งฟีโรโมนชนิดนี้มีส่วนสำคัญในการสื่อสารกันของมด นอกเหนือจากการใช้หนวดสัมผัสกัน
    
         จากการสังเกตพฤติกรรมในการเดินของมด ก็อดรู้สึกแปลกใจไม่ได้ว่า ทำไมมดจึงเดินเรียงแถวกันเป็นระเบียบเรียบร้อยมากถึงขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ในรังของมดเองก็ออกจะเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย มดแต่ละตัวแทบจะเดินชนปีนป่ายตามตัวกัน 
        คำตอบของความเป็นระเบียบเรียบร้อยนี้ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่มดตัวหน้าปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้ มดตัวที่เดินติดตามไปก็จะปล่อยฟีโรโมนเรื่อยไป ดังนั้นตามเส้นทางที่มดเดินก็จะมีแต่กลิ่นของฟีโรโมน เรียกได้ว่าหากมดตัวไหนชักช้าไม่ทันเพื่อนก็ยังสามารถเดินไปยังอาหารได้ไม่หลงทาง
      ถ้าหากว่ามีอาหารหลายแหล่งในพื้นที่เดียวกันละ มดจะสับสนหรือเปล่าว่าต้องเดินไปทางไหนดี แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น?

        
ข้อดีของฟีโรโมนอย่างหนึ่งก็คือ สามารถระเหยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงไม่กี่นาที ดังนั้นเมื่อมดงานค้นพบแหล่งอาหารหลายแห่งในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มดจึงไม่เกิดความสับสนว่าจะเดินไปยังแหล่งใด แต่มดจะเลือกแหล่งอาหารที่มีกลิ่นฟีโรโมนแรงที่สุด ซึ่งนั่นก็หมายถึงแหล่งอาหารแหล่งใหม่ที่สุดด้วยนั่นเอง

        
ลองมาดูการศึกษาถึงพฤติกรรมอันแสนฉลาดของมดกันต่อ จากการศึกษาพฤติกรรมการเดินตามกลิ่นฟีโรโมนของมด ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเกิดความสงสัยว่า ถ้าหากเอาสิ่งของมากั้นระหว่างทางเดินเพื่อให้มดเหล่านั้นเดินอ้อมไป ความน่าจะเป็นไปได้ก็คือ มดน่าจะแบ่งแยกทางเดินกลุ่มหนึ่งเดินไปทางซ้าย และอีกกลุ่มหนึ่งเดินไปทางขวาเพื่อข้ามสิ่งกีดขวาง แล้วกลับมาเรียงแถวเดียวกันตามเดิมเพื่อเดินไปยังแหล่งอาหาร

        
แต่เมื่อ Beckers และคณะของเขาได้ทำการทดลองก็ต้องแปลกใจ เมื่อพบว่าเจ้ามดงานเหล่านั้นเลือกเดินไปในทางเดียวกัน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามดเลือกเดินทิศทางที่มีระยะทางสั้นที่สุดไปยังแหล่งอาหาร นี่ก็เป็นความฉลาดอย่างน่ามหัศจรรย์ของมด สงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่า มดรู้ได้อย่างไรว่าระยะทางไหนสั้น ระยะทางไหนยาวไกลกว่ากัน ความจริงแล้วมดไม่ได้คิดเองได้หรอก แต่เป็นเพราะกลิ่นฟีโรโมนจากแหล่งอาหารที่มดงานตัวแรกทิ้งเอาไว้ต่างหาก ถ้าหากระยะทางที่ไปยังอาหารก้อนนั้นสั้นก็จะได้กลิ่นฟีโรโมนที่แรงมากกว่าระยะทางยาวไกลที่มีกลิ่นเจือจาง
   ในที่สุดเราก็รู้ว่าฟีโรโมนของมดช่วยทำให้เรื่องใหญ่โตอย่างเรื่องของอาหาร กลายเป็นเรื่องเล็กๆ ไร้ปัญหาได้อย่างไม่น่าเชื่อ  
   

                                                           

                                                                     


อ้างอิงจาก 

ทำไมมดถึงเดินเป็นแถว
http://www.sahavicha.com/name=article&file=readarticle&id=1227
มด
 https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/may11/ant.ht    

      
            


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น