วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติ

ประวัติผู้จัดทำ





ชื่อ-สกุล    นางสาวสุนิตา   ศิริ
วัน   เดือน  ปี เกิด   9   สิงหาคม   พ.. 2542
ระดับการศึกษา      ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่  4
คติประจำใจ     -
ความสามารถพิเศษ    -
ความมุ่งหวังในอนาคต
     จะเป็นครูให้ได้
ความรู้สึกที่มีต่อการเรียนทฤษฎีความรู้     ได้ค้นคว้าหาความรู้ที่เราไม่รูและอยากรู้เพื่อเป็นการเสริมความรูแก่ตนเอง


  
ทฤษฎีความรู้ (Theory  of   Knowledge)  เรื่องมหัศจรรย์สัตว์โลก
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4
สาระการเรียนรู้   วิทยาศาสตร์
คำถามสำหรับการค้นคว้า  สัตว์ที่มีความมหัศจรรย์มีสัตว์ชนิดใดบ้าง
ชื่อครูผู้สอน     คุณครูวีระชัย   จันทร์สุข
ชื่อครูที่ปรึกษา      คุณครูจีรวรรณ   อุผา
ชื่อนักเรียน    นางสาวสุนิตา   ศิริ

ลายมือชื่อนักเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

ปู

      ปู


                
             ปู (crab) เป็นสัตว์น้ำ จำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นพวกเดียวกับแมลง ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Arthropoda) มีลักษณะเด่นคือ "ขาเป็นข้อปล้องและมีจำนวนขาถึง 10 ขา
ปูมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษแตกต่างตามชนิดสายพันธุ์ แต่จะลงท้ายด้วย crab มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันตามชนิดสายพันธุ์ด้วย โดยทั่วไปจะนำหน้าด้วยวงศ์และตามด้วยสปีชีส์ของปูชนิดนั้นๆ



crab


ทำไมปูถึงเดินไม่ตรง?


                    ปูถือเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมการย้ายถิ่นที่อยู่มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล โดยอาศัยสนามแม่เหล็กในการหาทิศทาง ซึ่งหูภายในของปูจะมีวัตถุแม่เหล็กขนาดเล็กเป็นตัวกำหนดทิศทาง วัตถุแม่เหล็กนี้จะไวมากกับสนามแม่เหล็กบนพื้น ช่วงเวลาอันยาวนานในการก่อตัวของโลกนั้น ขั้วแม่เหล็กเหนือและใต้ของโลกได้พลิกกลับไปกลับอยู่หลายครั้ง วัตถุแม่เหล็กภายในหูของปูที่แต่เดิมมีความสามารถกำหนดทิศทางได้ก็หายไป
                   ดังนั้นเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ในสนามแม่เหล็กที่กลับไปกลับมาได้ ปูจึงไม่เดินไปข้างหน้าและไม่ถอยหลัง แต่เลือกที่จะเดินในแนวขวางแทน ด้วยโครงสร้างอันพิเศษของปูที่มีแปดขาที่ยื่นออกมาจากลำตัวสองข้าง ประกอบกับข้อต่อของขาหน้าที่งอได้ ทำให้ปูเดินได้แต่ในแนวขวางเท่านั้น


อ้างอิงจาก
ทำไมปูถึงเดินไม่ตรง                                     http://www.leadershiphabit.com/%E0%B8%97%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%87/#more-2837
ปู
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1974/crab-%E0%B8%9B%E0%B8%B9



ปลาดาว

  ปลาดาว


     ดาวทะเล หรือปลาดาว  เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง  ลักษณะทั่วไป มีลำตัวแยกเป็นห้าแฉกคล้ายรูปดาวเรียกว่า แขน ส่วนกลาง มีลักษณะเป็นจานกลม ด้านหลังที่อยู่ในชั้นมีตุ่มหินปูน ขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีปากอยู่ด้านล่างบริเวณ จุดกึ่งกลางของ ลำตัว ใต้แขนแต่ละข้างมีหนวดสั้น ๆ เรียงตามส่วนยาว ของแขนเป็นคู่ ๆ มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่เหนียวและแข็งแรงเรียกว่า โปเดีย ใช้สำหรับยึดเกาะกับเคลื่อนที่ มีสีต่าง ๆ ออกไป ทั้ง ขาว, ชมพู, แดง, ดำ, ม่วง หรือน้ำเงิน เป็นต้น พบอยู่ตามชายฝั่งทะเล โขดหิน และบางส่วนอาจพบได้ถึงพื้นทะเลลึก กินหอยสองฝา โดยเฉพาะ หอยนางรม, กุ้ง, ปู หนอน และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เช่น ฟองน้ำหรือปะการัง เป็นอาหาร
ดาวทะเล พบอยู่ในทะเลทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิกแอตแลนติกมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งในเขตขั้วโลกด้วยอย่าง มหาสมุทรอาร์กติก และแอนตาร์กติกา
ดาวทะเล ถึงปัจจุบันนี้พบอยู่ด้วยประมาณ 1,800 ชนิด กระจายอยู่ในอันดับต่าง ๆ 7 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งดาวทะเลขนาดเล็กอาจมีความกว้างเพียง 1 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ที่สุดอาจยาวได้ถึง 1 เมตร และในบางชนิดอาจมีแขนได้มากกว่า 5 แขน
สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย การปฏิสนธิเกิดภายนอกตัว ระยะแรกตัวอ่อนจะดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอนสัตว์ จากนั้นจะเริ่มพัฒนาตัวแล้วจมตัวลงเพื่อหาที่ยึดเกาะแล้วเจริญเป็นตัวเต็มวัย ส่วนการ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ในบางชนิดเมื่อแขนถูกตัดขาดลง จะพัฒนาตรงส่วนนั้นกลายเป็นดาวทะเลตัวใหม่เกิดขึ้น และตัวที่ขาดก็จะงอกชิ้นใหม่ขึ้นมาได้จนสมบูรณ์ แต่กระบวนการเหล่านี้ต้องใช้เวลาเป็นปี [2]
การเคลื่อนที่ของดาวทะเล เนื่องจากดาวทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีโครงแข็งที่ผิวนอก ไม่ได้ยึดเกาะกับกล้ามเนื้อ จึงมีระบบการเคลื่อนที่ด้วยระบบท่อน้ำ จากท่อวงแหวนจะมีท่อน้ำแยกออกไปในแขน เรียกท่อนี้ว่า เรเดียลแคแนล ทางด้านข้างของเรเดียลคาแนล มีท่อแยกไปยังทิวบ์ฟีต การยืดและหดของทิวบ์ฟิตจะเกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง และมีความสัมพันธ์กันทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปได้
ดาวทะเลมีความสัมพันธ์ต่อมนุษย์ในแง่ ของการใช้ซากเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม อีกทั้งในบางวัฒนธรรมเช่น จีน มีการใช้ดาวทะเลเพื่อปรุงเป็นยา รวมทั้งใช้ปิ้งย่างเป็นอาหาร[3] อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงภายในตู้ปลาเพื่อความเพลิดเพลินอีกด้วย

                                 เรื่องน่าทึ่งของ ปลาดาว



       ปลาดาว หรือ "ดาวทะเล" เป็นสัตว์น้ำทะเลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเพราะรูปร่างที่แปลกตาและ ความไม่มีพิษภัยของมัน ในพิพิธภัณฑ์สัตวน้ำ ส่วนทีมี่ปลาดาวก็มักจะได้รับความสนใจจากเด็กๆ เพราะพวกเขาชอบแตะและจับปลาดาวที่มีปุ่มแหลมๆ รอบตัว แต่คุณรู้หรือไม่ว่าปลาดาวไม่ใช่สัตว์จำพวกปลา ในฉบับนี้ เราจะมาเรียนรู้ข้อมูลที่น่าทึ่งของปลาดาวกันค่ะ


      ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ปลาหมายถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในน้ำ ซึ่งมี เหงือก และ ครีบ แต่ว่าปลาดาวนั้นไม่มีลักษณะที่กล่าวมาเลยสักอย่างเดียว ดังนั้น มันจึงควรจะเรียกว่า ดาวทะเล เพื่อป้องกันความสับสน ปัจจุบันมีดาวทะเลมากกว่า 2,000 ชนิดในมหาสมุทรทั่วโลก ซึ่งรวมถึงดินแดนอาร์กติกและแอนตาร์กติกา ดาวทะเลมีหลายสี หลายรูปทรง และหลายขนาด นอกจากนั้น ผิวของมันยังมีทั้งแบบเรียบและขรุขระเป็นหนามแหลม ลำตัวของดาวทะเลนั้นมีสมมาตรห้าจุด ซึ่งหมายความว่า เมื่อแบ่งตัวดาวทะเลให้เป็นชิ้นที่เท่ากันจากจุดกึ่งกลาง (เหมือนตัดแบ่งเค้กวันเกิด) จะสามารถแบ่งตัวดาวทะเลได้อย่างน้อยห้าส่วน
         ดังนั้น แปลว่าดาวทะเล จะมีจำนวนแขนที่หารด้วย 5 ลงตัว เช่น 5, 10, 15, และ 20 แขน เป็นต้น กลอันมหัศจรรย์ที่ดาวทะเลทำได้ คือความสามารถในการงอกแขนขึ้นใหม่ ซึ่งเมื่อมันโดนตามล่า มันก็จะสามารถสลัดแขนข้างหนึ่งให้หลุดเพื่อทำให้ผู้ล่าไขว้เขว เพื่อให้หนีไปได้ ถ้าส่วนแขนที่สลัดออกนั้นใหญ่พอ มันอาจจะมีการงอกแขนเพิ่มจนกลายเป็นดาวทะเลตัวใหม่ก็ได้
         แม้ว่าดาวทะเลจะไม่ใช่ปลา แต่ว่ามันก็มีลักษณะที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับสัตว์น้ำชนิดอื่น อย่างเช่น หอยเม่น และที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ดาวทะเลไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวที่ถูกจัดประเภทผิด เพราะยังมีสัตว์น้ำชนิดอื่น อย่างเช่น ปลาหมึกและวาฬที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นปลาชนิดหนึ่ง ดังนั้น พวกเราควรศึกษาสัตว์เหล่านี้และเรียกมันให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้บุคคลรุ่นหลังเกิดความสับสนเกี่ยวกับสัตว์ทลีึ่กลับและน่ารัก อย่างเช่นดาวทะเลอีกต่อไป




อ้างอิงจาก
เรื่องน่าทึ่งของ ปลาดาว          
http://campus.sanook.com/941896/
ปลาดาว


 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5            

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

มด

มหัศจรรย์สัตว์โลก
            ในปัจจจุบันเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลายสิ่งหลายอย่างหลาย  หลากหลายพันธุ์  
ซึ่งวันนี้จะมายกตัวอย่างของสัตว์ที่น่าทึ่งและน่าสนใจมาให้ได้ดูกัน  3  ชนิดดังต่อไปนี้

มด




          มดเป็นแมลงชนิดหนึ่งในตระกูล Formicidae เราพบเห็นมดในทุกหนแห่ง นอกจากใน ทวีปแอนตาร์กติกาที่มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี มดเป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถหลายด้าน และมีพฤติกรรมที่น่าสนใจมาก ถึงระดับที่ทำให้มันเป็นสัตว์ที่คนสนใจศึกษามากที่สุด
ถึงแม้มดจะมีน้ำหนักตัวเบาเมื่อเทียบกับคนก็ตาม แต่ถ้าเราชั่งน้ำหนักของมดทั้งโลก เราก็จะพบว่ามันมีน้ำหนักพอๆ กับคนทั้งโลกทีเดียว
นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่ามดมีวิวัฒนาการจากแมลงดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตเป็นกา ฝากตามตัวแมลงชนิดอื่น และถือกำเนิดเกิดมาบนโลกเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว
แต่ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมานี้ D. Agosti แห่ง American Museum of Natural History ที่ New York ในสหรัฐอเมริการและคณะได้รายงานว่าเขาได้ พบซากฟอสซิล ของมดที่มีอายุถึง 92 ล้านปี ซึ่งนับว่าดึกดำบรรพ์กว่าที่คิดเดิมถึง 2 เท่าตัว ในยางสนของต้นไม้ต้นหนึ่งในรัฐ New Jersey สหรัฐอเมริกา ซากมดที่เขาพบนี้เป็นซากของ มดงานตัวเมีย 3 ตัว และตัวผู้ 4 ตัว มดกลุ่มนี้มีอวัยวะและต่อมาของร่างกายที่ชัดเจนว่าเป็น มด เช่น มีต่อม metapleural ที่ทำหน้าที่ขับสารปฏิชีวนะออกมาเพื่อปกป้องมดมิให้เป็น อันตรายจากการถูกจุลินทรีย์คุกคาม จึงทำให้มันสามารถดำรงชีพอยู่ใต้ดินหรือตามต้นไม้ที่ เน่าเปื่อยได้สบายๆ และยังใช้สารเคมีที่ขับออกมาจากต่อมนี้ในการติดต่อสื่อสารถึงกัน อันมี ผลทำให้มันเป็นสัตว์สังคมที่ดีที่สามารถ ในที่สุด Agosti และคณะจึงคาดคะเนว่า มดคงถือ กำเนิดเกิดมาบนโลกเมื่อ 130 ล้านปีก่อน ซึ่งยุคนั้นเป็นยุคที่นักธรณีวิทยาเรียกว่ายุค Cretaceores และเป็นยุคที่ไดโนเสาร์ยังครองโลกอยู่ แต่มดก็มิได้มีบทบาทสำคัญทันทีทันใด มดเริ่มมีความหลากหลายทางชีวภาพในยุคต่อมาคือยุค Tertiary คือ เมื่อไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ไปจนหมดสิ้นแล้ว ปัจจุบันมดมีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลกมาก โดยเฉพาะในบริเวณ เขตร้อนของโลกป่าดงดิบ ในเขตนี้จะขาดมดไม่ได้เลย
นักชีววิทยาได้ศึกษาธรรมชาติของมดมานานกว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว และได้พบว่ายิ่ง ศึกษามดมากขึ้นเพียงใด เขาก็ยิ่งทึ่งในความสามารถของมันมากขึ้นเพียงนั้น เมื่อ 5 ปีก่อน นี้ B.Holldobler และ E.O. Wilson ได้เขียนวรรณกรรม The Ants บรรยายธรรมชาติของมด ตั้งแต่วิวัฒนาการตลอดจนพฤติกรรมทุกรูปแบบของมดจนทำให้หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัล pulitzer ของอเมิรกา และใครที่อ่านหนังสือเล่มนี้มักจะคิดว่ามนุษย์รู้จักมดดีแล้วแต่ความ จริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเรากำลังได้รับความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับมดอยู่ตลอดเวลา เช่น C.Errand แห่งมหาวิทยาลัย Paris ได้เคยรายงานไว้ในวารสาร Animal Behavior เมื่อ 2 ปี ก่อนนี้ว่า มดที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกันจะมีความสนิทสนมกันและคุ้นเคยกันโดยอาศัย กลิ่นจากสารเคมี pheromone ที่มดขับออกมาจากร่างกาย เพราะหลังจากที่ได้ทดลองเลี้ยง มดให้อยู่ด้วยกันนาน 3 เดือน แล้วจับแยกกันนาน 18 เดือน มันก็ยังจำเพื่อนของมันได้
ส่วนมด Formica selysi นั้น Errand ก็ได้พบว่าตามธรรมดาเป็นมดกาฝากที่ชอบเกาะมด อื่นๆ กิน ราชินีของมดพันธุ์นี้มักจะใช้ความสามารถในการปลอมกลิ่นบุกรุกเข้ารังมดพันธุ์อื่น แล้วฆ่าราชินีมดเจ้าของรัง จากนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชินีมดเจ้าของรัง จากนั้นก็ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชินีแทน แล้วบังคับมดงานทั้งหลายให้ทำงานสนองความต้องการ ของตนเองทุกรูปแบบ
เมื่อไม่นานมานี้นักชีววิทยากลุ่มหนึ่งได้ศึกษามด Polygerus ที่ทำรังอยู่ตามลุ่มน้ำ อะเมซอนในบราซิล และได้พบว่ามดพันธุ์นี้มีความเชี่ยวชาญในการล่าทาสมาก คือเวลามัน ทำสงครามมดชนะมันจะบุกเข้ายึดรังมดที่แพ้สงครามแล้วจับมดทาสที่ประจำอยู่ในรังนั้นมา เป็นทาสรับใช้มัน จากนั้นมันจะขนไข่มดที่แพ้สงครามกลับไปพักที่รังมันทันทีที่ไข่สุกลูกมด ใหม่จะมีจิตใจเป็นทาสยินยอมรับใช้มด Polygerus โดยไม่ต้องสั่ง มดทาสนั้นตามปกติมีฐานะ ทางสังคมต่ำสุด มันจึงไม่มีสิทธิ์สืบพันธุ์ใดๆ ดังนั้นเวลามดทาสตาย มดนายก็ต้องออก สงครามเพื่อล่ามดทาสมารับใช้มันอีก เพราะถ้าไม่ออกศึกหาทาสมันก็จะอดอาหารตายเมื่อ มีมดทาสแล้ว วันๆ มันจะนั่งอ้อนขออาหารจากมดทาสตลอดเวลา
ส่วนมด Aolenopsis invicta ซึ่งเป็นมดคันไฟที่มีชีวิตอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และขณะนี้กำลัง คุกคามผู้คนและที่อยู่อาศัยในทวีปอเมริกาเหนืออยู่ R. Hickling แห่งมหาวิทยาลัย Mississippi ในสหรัฐอเมริกา ได้พบว่ามันสามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงและกลิ่นได้ โดยเขาได้ถ่ายภาพมดชนิดนี้และบันทึกเสียงของมดและเขาได้พบว่าเวลามดตกใจมันจะส่ง เสียงดังหรือเวลาศัตรูปรากฏตัวให้เห็นอย่างทันทีทันใดมันก็จะส่งเสียงอื้ออึงเหมือนกัน
เพราะเหตุว่าเสียงเดินทางได้เร็วกว่าโมเลกุล Pheromone ของกลิ่น ดังนั้นมดจะใช้เสียง เฉพาะในกรณีสำคัญๆ เท่านั้น




ส่วนมด Pheidole palidula เวลาถูกศัตรูข่มขู่จะโจมตี มันจะสร้างไข่อ่อนที่จะให้กำเนิด มดทหารมากกว่าปกติเพื่อมาปกป้องรังของมัน ให้รอดพ้นจากการถูกโจมตีและเมื่อใดที่มด วรรณะหนึ่งๆ ถูกศัตรูฆ่าตายหมดทุกตัวแล้วมดวรรณะอื่นก็จะเข้ามาทำหน้าที่แทนและนั่นก็ หมายความว่ามดชนิดนี้เปลี่ยนวรรณะทางสังคมของมันได้เมื่อมีความจำเป็น
การที่มดมีการแบ่งชั้นวรรณะเช่นนี้ ได้ทำให้นักชีววิทยาบางคนคิดว่า มดเป็นสัตว์ที่มี สติปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่งกว่าลิง การมีสติปัญญาที่สูงในสมองที่เล็กนี้ได้ทำให้มันมีวัฒนธรรม หนึ่งที่ประเสริฐยิ่งกว่าคน คือความรู้สึกสามัคคีทุกหมู่เหล่าของมดเพราะสังคมมดเป็นสังคม สหชีวิตที่ชีวิตทุกชีวิตมีความหมายต่อทุกชีวิตอื่น อย่างที่เรียกกันว่า altruism ที่สังคมคนไม่มี ครับ
นอกจากนี้มดยังจำทิศทางได้เป็นอย่างดี นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ศึกษาถึงวิธีการที่มดจำทิศทางกลับไปยังแหล่งอาหาร โดย วางกรวยสีดำสูงประมาณ 10 เซนติเมตรบนโต๊ะ และวางน้ำตาลไว้ใกล้ๆ มดแต่ละตัวจะถูก ปล่อยให้ออกจากรังเพื่อไปยังน้ำตาลตัวละเที่ยว เขาพบว่าขณะกลับรังหลังจากพบน้ำตาลแล้ว มดจะหันหลังไปดูกรวยสีดำ และน้ำตาลบ่อยๆ เมื่อกลับมาที่น้ำตาลอีกครั้งมดจะเดินมาใน แนวทางเดิม
เนื่องจากมดมีสมองที่เล็กมาก (น้อยกว่า 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร) การมองเห็นไม่ดี ระบบ การมองเห็นเป็นแบบง่ายๆ ตาของมดไม่สามารถหมุนรอบได้ ดังนั้นภาพที่ตกบนจอรับภาพ (เรตินา) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวมดเมื่อหยุดมองสิ่งที่สังเกตมดจะจำวัตถุนั้นๆ ได้อย่างที่ตา เคยมองเห็น ถ้าเห็นวัตถุนั้นอีกแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมอื่น มดจะจำวัตถุนั้นไม่ได้ เมื่อให้มด ไปยังน้ำตาลและกลับรังหลายๆ ครั้ง มดจะหาสิ่งที่เป็นสังเกตมากขึ้น มดที่รู้แหล่งอาหารแล้ว เมื่อจะกลับไปที่แหล่งอาหารอีกก็จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่าฟีโรโมนไปตามทางที่เกิน เพื่อให้ มดที่เหลือนั้นตามไปได้ถูกทาง มดที่เดินตามโดยอาศัยฟีโรโมนก็หาสิ่งที่เป็นสังเกตสำหรับ ตนเองเช่นกัน ทำให้ในการไปแหล่งอาหารครั้งต่อไปทำได้เร็วขึ้น



ทำไมมดถึงเดินเป็นแถว? 

       


      เรื่องราวของ “ ฟีโรโมน   กับแมลงที่สังเกตได้อย่างชัดเจนก็คือ มันจะมีบทบาทอย่างมากต่อแมลงที่มีการใช้ชีวิตอยู่เป็นกลุ่ม หรือแมลงสังคมที่มีประชากรในรังมากมายนับพันนับหมื่นตัว ในขณะที่แมลงแต่ละตัวก็มีหน้าที่แตกต่างกันไป ทั้งเลี้ยงดูตัวอ่อน ขยายพันธุ์ หาอาหาร หนึ่งในตัวอย่างของแมลงสังคมที่เราจะทำความรู้จักกันในวันนี้คือ แมลงตัวน้อยที่แข็งแรงอย่าบอกใคร บอกใบ้ให้สักนิดว่า ตัวของมันเล็กนิดเดียว แต่สามารถยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าตัวของมันได้ถึง 10 เท่า 

            คำตอบของเรื่องราวในวันนี้ก็คือ มดตัวน้อยตัวนิดนั่นเอง แต่จะเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อมดตัวแค่นี้ปล่อยฟีโรโมน สารเคมีที่มีอยู่ในร่างกาย เราลองมาหาคำตอบกันดีกว่า

        
มดในโลกใบนี้มีจำนวนมากมายถึง 1 หมื่นชนิด สำหรับประเทศไทยเองก็คาดว่าจะมีอยู่นับพันชนิด แม้ว่าเราอาจรู้จักมดอยู่เพียงไม่กี่ชนิด มดแดง มดคันไฟ มดตะนอย มดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ดุไม่ใช่ย่อย กัดเจ็บอีกต่างหาก แล้วรู้หรือไม่ละว่าในรังของมดมีประชากรอยู่มากมายมหาศาล นอกจากนั้น มดยังเป็นแมลงสังคมที่อยู่ร่วมกันโดยมีการแบ่งหน้าที่ แบ่งวรรณะในการทำงาน ทั้งมดงาน มดนางพญา และมดตัวผู้ แต่สำหรับเรื่องราวในวันนี้พระเอกของเรื่องต้องยกให้กับมดประเภทเดียวนั่นก็คือ มดงาน

        
หลายคนอาจบอกว่าไม่ได้มีความรู้สึกว่าจะชื่นชอบเจ้าแมลงตัวนี้สักเท่าไร นอกจากจะสร้างความน่ารำคาญแล้ว บางชนิดยังกัดเจ็บ สร้างความแสบคันอีกต่างหาก แต่หากเราลองศึกษาพฤติกรรมของมดงานกันแล้วละก็ น่าตื่นเต้น และไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย!

        เมื่อเราทำขนมตกบนพื้นในห้องครัว เพียงไม่กี่นาทีต่อมาขบวนมดแถวยาวเหยียดก็เดินทางมาถึง และพร้อมแล้วที่จะแบกขนมให้หายไปในพริบตา แต่รู้ไหมละว่าขั้นตอนก่อนที่มดน้อยจะมาถึงนั้น มีขั้นตอนมากมายในการติดต่อสื่อสารกัน เมื่อมดงานเพียง 23 ตัวเดินทางมาพบเศษขนม มดงานจะทำอย่างไรเพื่อบอกกับเพื่อนมดให้เดินทางมายังอาหารแหล่งนี้ สิ่งแรกที่มดงานตัวที่พบอาหารจะทำก็คือ ปล่อยสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาจาก  ต่อมดูฟอร์ (Dufoue’s Gland)   ซึ่งเป็นสารที่มดงานทุกตัวมีอยู่ในร่างกาย สารเคมีที่ถูกปล่อยออกมานี้ก็คือ ฟีโรโมนประเภทกรดฟอร์มิก   (หรือที่หลายคนคุ้นเคยกับคำว่า กรดมด) ซึ่งฟีโรโมนชนิดนี้มีส่วนสำคัญในการสื่อสารกันของมด นอกเหนือจากการใช้หนวดสัมผัสกัน
    
         จากการสังเกตพฤติกรรมในการเดินของมด ก็อดรู้สึกแปลกใจไม่ได้ว่า ทำไมมดจึงเดินเรียงแถวกันเป็นระเบียบเรียบร้อยมากถึงขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ในรังของมดเองก็ออกจะเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย มดแต่ละตัวแทบจะเดินชนปีนป่ายตามตัวกัน 
        คำตอบของความเป็นระเบียบเรียบร้อยนี้ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่มดตัวหน้าปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้ มดตัวที่เดินติดตามไปก็จะปล่อยฟีโรโมนเรื่อยไป ดังนั้นตามเส้นทางที่มดเดินก็จะมีแต่กลิ่นของฟีโรโมน เรียกได้ว่าหากมดตัวไหนชักช้าไม่ทันเพื่อนก็ยังสามารถเดินไปยังอาหารได้ไม่หลงทาง
      ถ้าหากว่ามีอาหารหลายแหล่งในพื้นที่เดียวกันละ มดจะสับสนหรือเปล่าว่าต้องเดินไปทางไหนดี แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น?

        
ข้อดีของฟีโรโมนอย่างหนึ่งก็คือ สามารถระเหยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงไม่กี่นาที ดังนั้นเมื่อมดงานค้นพบแหล่งอาหารหลายแห่งในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มดจึงไม่เกิดความสับสนว่าจะเดินไปยังแหล่งใด แต่มดจะเลือกแหล่งอาหารที่มีกลิ่นฟีโรโมนแรงที่สุด ซึ่งนั่นก็หมายถึงแหล่งอาหารแหล่งใหม่ที่สุดด้วยนั่นเอง

        
ลองมาดูการศึกษาถึงพฤติกรรมอันแสนฉลาดของมดกันต่อ จากการศึกษาพฤติกรรมการเดินตามกลิ่นฟีโรโมนของมด ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเกิดความสงสัยว่า ถ้าหากเอาสิ่งของมากั้นระหว่างทางเดินเพื่อให้มดเหล่านั้นเดินอ้อมไป ความน่าจะเป็นไปได้ก็คือ มดน่าจะแบ่งแยกทางเดินกลุ่มหนึ่งเดินไปทางซ้าย และอีกกลุ่มหนึ่งเดินไปทางขวาเพื่อข้ามสิ่งกีดขวาง แล้วกลับมาเรียงแถวเดียวกันตามเดิมเพื่อเดินไปยังแหล่งอาหาร

        
แต่เมื่อ Beckers และคณะของเขาได้ทำการทดลองก็ต้องแปลกใจ เมื่อพบว่าเจ้ามดงานเหล่านั้นเลือกเดินไปในทางเดียวกัน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามดเลือกเดินทิศทางที่มีระยะทางสั้นที่สุดไปยังแหล่งอาหาร นี่ก็เป็นความฉลาดอย่างน่ามหัศจรรย์ของมด สงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่า มดรู้ได้อย่างไรว่าระยะทางไหนสั้น ระยะทางไหนยาวไกลกว่ากัน ความจริงแล้วมดไม่ได้คิดเองได้หรอก แต่เป็นเพราะกลิ่นฟีโรโมนจากแหล่งอาหารที่มดงานตัวแรกทิ้งเอาไว้ต่างหาก ถ้าหากระยะทางที่ไปยังอาหารก้อนนั้นสั้นก็จะได้กลิ่นฟีโรโมนที่แรงมากกว่าระยะทางยาวไกลที่มีกลิ่นเจือจาง
   ในที่สุดเราก็รู้ว่าฟีโรโมนของมดช่วยทำให้เรื่องใหญ่โตอย่างเรื่องของอาหาร กลายเป็นเรื่องเล็กๆ ไร้ปัญหาได้อย่างไม่น่าเชื่อ  
   

                                                           

                                                                     


อ้างอิงจาก 

ทำไมมดถึงเดินเป็นแถว
http://www.sahavicha.com/name=article&file=readarticle&id=1227
มด
 https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/may11/ant.ht